วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2555


นวัตกรรม
ความหมายของนวัตกรรม
นวัตกรรมหมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมแนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฎิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
          คำว่า นวัตกรรมเป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovate แปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า นวกรรมต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำ) หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น นวัตกร” (Innovator)    (boonpan edt01.htm)
          ทอมัส ฮิวช์ (Thomas Hughes) ได้ให้ความหมายของ นวัตกรรมว่า เป็นการนำวิธีการใหม่ ๆ มาปฏิบัติหลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับการพัฒนามาเป็นขั้น ๆ แล้ว เริ่มตั้งแต่การคิดค้น (Invention) การพัฒนา (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของ โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา (boonpan edt01.htm)
          มอร์ตัน (Morton,J.A.) ให้ความหมาย นวัตกรรมว่าเป็นการทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง(Renewal) ซึ่งหมายถึง การปรับปรุงสิ่งเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนหน่วยงาน หรือองค์การนั้น ๆ นวัตกรรม ไม่ใช่การขจัดหรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการ ปรับปรุงเสริมแต่งและพัฒนา (boonpan edt01.htm)
ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2521 : 14) ได้ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่าหมายถึง วิธีการปฎิบัติใหม่ๆ ที่แปลกไปจากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นพบวิธีการใหม่ๆ ขึ้นมาหรือมีการปรับปรุงของเก่าให้เหมาะสมและสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ได้รับการทดลอง พัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้แล้วว่าได้ผลดีในทางปฎิบัติ ทำให้ระบบก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น
          จรูญ วงศ์สายัณห์ (2520 : 37) ได้กล่าวถึงความหมายของ นวัตกรรมไว้ว่า แม้ในภาษาอังกฤษเอง ความหมายก็ต่างกันเป็น 2 ระดับ โดยทั่วไป นวัตกรรม หมายถึง ความพยายามใด ๆ จะเป็นผลสำเร็จหรือไม่ มากน้อยเพียงใดก็ตามที่เป็นไปเพื่อจะนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการที่ทำอยู่เดิมแล้ว กับอีกระดับหนึ่งซึ่งวงการวิทยาศาสตร์แห่งพฤติกรรม ได้พยายามศึกษาถึงที่มา ลักษณะ กรรมวิธี และผลกระทบที่มีอยู่ต่อกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง คำว่า นวัตกรรม มักจะหมายถึง สิ่งที่ได้นำความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้ได้ผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไป จนกลายเป็นการปฏิบัติอย่างธรรมดาสามัญ (บุญเกื้อ ควรหาเวช , 2543)
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรมคืออะไร
                “ นวัตกรรม (Innovation)คือ การเรียนรู้ การผลิต และการใช้ประโยชน์จากความคิดใหม่ เพื่อให้เกิดผลดีทางเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการกำเนิดผลิตภัณฑ์ การบริการ กระบวนการใหม่ การปรับปรุงเทคโนโลยี การแพร่กระจายเทคโนโลยี และการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และเกิดผลพวงทางเศรษฐกิจและสังคม
                จากความหมายของนวัตกรรม สิ่งที่ยังเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการไทย ก็คือ การคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ด้วยตัวเอง การชอบลอกเลียนแบบ แต่ไม่มีการปรับปรุงจากสินค้าเดิมเลย ทำให้การพัฒนาในผลิตภัณฑ์แทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ผู้ประกอบการต้องเริ่มการสร้างนวัตกรรมจากตนเองก่อน  นั่นคือต้องเริ่มจากการเรียนรู้ ซึ่งอาจจะได้จากงานวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาต่าง ๆ กองทุนสนับสนุนการวิจัย สถาบันวิจัยแห่งชาติ สำนักงานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (สวทช.) เป็นต้น ศาสตร์จารย์อาเธอร์ คาร์ที ประธานกรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติแคนาดากล่าวไว้ว่า งานวิจัยนั้นใช้เงินสร้างความรู้ แต่นวัตกรรมนั้นใช้ความรู้สร้าง เงินทอง ” (Research is to use money to create knowledge but Innovation is to use knowledge to create money)

ความสำคัญของนวัตกรรม
             นับแต่อดีต ในทุกยุค ทุกสมัย การดำเนินกิจกรรมด้านต่างๆ ในสังคม ชุมชน หรือบุคคล มักจะเผชิญปัญหาต่างๆ มากมาย ดังนั้น มนุษย์จึงพยายามสร้างสิ่งใหม่ๆ วิธีการใหม่ ขึ้นมาเพื่อใช้แก้ปัญหา เพื่อเปลี่ยนจากสภาพที่เคยเป็นอยู่แต่เดิม นำไปสู่สภาพที่อยากให้เป็นที่ดีขึ้น ดังนั้นวัตกรรมจึงเข้าไปเกี่ยวข้องในเกือบทุกวงการอาทิ นวัตกรรมทางการแพทย์ นวัตกรรมทางการเกษตร นวัตกรรมทางอุตสาหกรรม นวัตกรรมทางการสื่อสาร นวัตกรรมทางการบริหาร สิ่งที่สำคัญโดยเฉพาะนวัตกรรมทางการศึกษา เรามาศึกษาเรียนรู้ ในเนื้อหานี้กันอย่างแพร่ หลายเมื่อไม่ นานมานี้ (Grupp, 2001) Sundbo (1998) ได้ทำการสรุปแนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์ โดยได้ระบุแนวคิดของการศึกษาทางด้านนวัตกรรมแบ่งออกเป็น 3 มุมมอง คือ 1) มุมมองในด้านผู้ประกอบการ (The Entrepreneur Paradigm) 2) มุมมองด้านเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยี (The Technologyeconomics Paradigm) และ 3) มุมมองด้านกลยุทธ์ (The Strategic Paradigm) อย่างไรก็ตามการศึกษาเรื่องของนวัตกรรม ในมุมมองด้านผู้ประกอบการได้มีการกล่าวถึงมานานแล้วโดย Schumpeter (1934) ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสำคัญของนวัตกรรมที่ มีต่อการเป็นผู้ประกอบการ และความสำคัญของผู้ประกอบการที่มีต่อการพัฒนานวัตกรรม โดยชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมจะช่วยทำให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจก็ต่อเมื่อผู้ประกอบการได้สร้างนวัตกรรมเพื่อมุ่งหวังผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ดังนั้น แนวคิดเรื่องนวัตกรรมในมุมมองด้านผู้ประกอบการจึงถือว่า ผู้ประกอบการ เป็นผู้มีบทบาทและความสำคัญต่อกระบวนการพัฒนานวัตกรรม และนวัตกรรมก็มีบทบาทต่อการทำให้การเป็นผู้ประกอบการประสบความสำเร็จด้วย นอกจากนี้แนวคิดของมุมมองด้านผู้ประกอบการ ยังถือว่า ผู้ที่ จะถูกจัดว่าเป็นผู้ประกอบการนั้น คือ บุคคลที่สามารถจัดตั้งธุรกิจใหม่ด้วยการใช้ความคิดใหม่ ผสมผสานสิ่งที่มีอยู่เดิมในการสร้างนวัตกรรมขึ้นมา เพื่อทำให้เกิดความมั่งคั่งทั้งต่อตนเอง และสังคมดังที่ได้กล่าวไว้แล้วข้างต้นอย่างไรก็ตาม จากความสำคัญของนวัตกรรมกับการเป็นผู้ประกอบการดังที่ กล่าวถึงข้างต้นจะพบว่า นวัตกรรม จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อได้มีการผสมผสานของสภาวะการเป็นผู้ประกอบการ และความรู้ เพื่อทำให้เกิดความคิดใหม่ ที่ส่งผลต่อการเกิดนวัตกรรม สอดคล้องกับแนวคิดของ Gurteen (1998) ที่ได้ให้ทัศนะว่า ผู้ประกอบการที่มีความรู้ และสามารถที่จะเข้าถึงความรู้ โดยสามารถจัดการกับความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิด นวัตกรรม
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
1. เป็นความคิดและกระบวนการกระทำใหม่ทั้งหมดหรือปรับปรุงดัดแปลงจากที่สิ่งที่เคยมีนำมาปรับปรุงใหม่ให้ดียิ่งขึ้น

2. ความคิดหรือการกระทำนั้น มีการพิสูจน์ด้วยการทดลอง วิจัย ผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 

3. มีการนำวิธีระบบมาใช้อย่างชัดเจนโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้ง 3 ส่วน คือ ข้อมูล กระบวนการ และผลลัพธ์ 

4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบงานในปัจจุบัน 

หลักสำคัญในการพิจารณาว่าเป็นนวัตกรรม จากความหมายของคำว่านวัตกรรมจะเห็นว่านักการศึกษาแต่ละท่านได้ให้ความหมายไว้แตกต่างกัน แต่พอจะมีเกณฑ์ให้เราพิจารณาได้ว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมหรือไม่ โดย ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้ให้เกณฑ์ในการพิจารณาสิ่งที่จะถือว่าเป็น นวัตกรรมไว้ดังนี้ 

1. จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 

2. มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง 
3. มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 
4. ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม
หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้ 
       การที่จะรับนวัตกรรมเข้ามาใช้ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่งนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงประโยชน์ที่จะได้รับ ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ ตลอดจนความคุ้มค่าของการนำมาใช้โดยคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ (กิดานันท์ มลิทอง. 2541:246) 
1. นวัตกรรมที่จะนำมาใช้นั้นมีจุดเด่นที่เห็นได้ชัดกว่าวัสดุ อุปกรณ์ หรือวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมากน้อยเพียงใด 
2. นวัตกรรมนั้นมีความเหมาะสมหรือไม่กับระบบหรือสภาพที่เป็นอยู่ 
3. มีการวิจัยหรือกรณีศึกษาที่ยืนยันแน่นอนแล้วว่า สามารถนำมาใช้ได้ดีในสภาวการณ์ที่คล้ายคลึงกันนี้ 
4. นวัตกรรมนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความต้องการของผู้ใช้อย่างจริงจัง 

สถานะของนวัตกรรม 
1. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น อาจเก่ามาจากที่อื่นและเหมาะที่จะนำมาปฏิบัติกับสถานที่นี้ใน สถานะการณ์ปัจจุบัน

2. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นครั้งหนึ่งเคยนำมาใช้ แต่ไม่ได้ผลและล้มเลิกไป เนื่องจากเกิดปัญหาต่าง ๆ และความไม่พร้อมในระยะนั้น แต่ในสภาพปัจจุบันความคิดหรือ การปฏิบัติใหม่นั้นเหมาะสมที่จะนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง 

3. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับการปฏิบัติงาน เพื่อแก้ปัญหาบางอย่าง และจะช่วยให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ 

4. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้นถูกปฏิเสธมาครั้งหนึ่งแล้ว อาจเนื่องมาจาก ผู้บริหารไม่สนับสนุน หรือมีเจตคติที่ไม่ดีต่อความคิดหรือการปฏิบัติใหม่นั้น ต่อมาผู้บริหารได้ เปลี่ยนเจตคติไปในทางที่ดีหรือมีการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารใหม่ ทำให้ความคิดหรือการปฏิบัติ ใหม่นั้นได้รับการสนับสนุนนำมาใช้ 

5. ความคิดหรือการปฏิบัติใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดหรือปฏิบัติมาก่อน เป็นสิ่งที่ได้รับ การคิดค้นได้เป็นคนแรก

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรม 
1. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น 

- การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) 

- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book) 

- เครื่องสอน (Teaching Machine) 

- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)

- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) 

- เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) 
2. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- ศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
-การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases) 
3. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่ สนองแนวความคิด เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) 
- มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
- แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
- การเรียนทางไปรษณีย์ 
4. แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากร นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น
- มหาวิทยาลัยเปิด
- การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์
- การเรียนทางไปรษณีย์ แบบเรียนสำเร็จรูป 
- ชุดการเรียน

ตัวอย่าง นวัตกรรม

1. e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learningหรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง "การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ
2. การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น
3. Asynchronous Learning คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่ผู้สอน และผู้เรียนไม่จำเป็นต้องพบกันตามเวลาในตาราง ที่กำหนดไว้ (Synchronous Learning) แต่ผู้สอนและผู้เรียนสามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา โดยใช้เครื่องมือสื่อ สารต่าง ๆ ซึ่งเป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา และสถานที่ ผู้เรียนสามารถเรียนที่ไหน เวลาใดก็ได้ (Anywhere Anytime) เป็นการเรียนที่อาศัยวิธีการ หรือเครื่องมือต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้เรียน สามารถเรียนรู้ในลักษณะที่ปฏิสัมพันธ์ และมีส่วนร่วมช่วยเหลือกันระหว่าง ผู้เรียน โดยใช้แหล่ง ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้า หรือเข้าถึงข้อมูลความรู้เหล่านั้น จากที่ไหน และเวลาใดก็ได้ ตามความต้องการและความสะดวกของผู้เรียนเอง ซึ่ง Asynchronous Learning เป็นการใช้การสื่อสารระยะไกล(Telecommunication) เพื่อช่วยให้การเรียนรู้มีลักษณะใกล้เคียงกับการเรียนในระบบห้องเรียนหรือการเรียนการสอนที่ผู้สอนกับผู้เรียนได้พบหน้ากัน (Face - to - Face Instruction)


เทคโนโลยี
เทคโนโลยี หรือ ประยุกตวิทยา  หรือ เทคนิควิทยา  มีความหมายค่อนข้างกว้าง โดยทั่วไปหมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์ มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ อันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น 
เทคโนโลยีก่อเกิดผลกระทบต่อสังคมและในพื้นที่ที่มีเทคโนโลยีเข้าไปเกี่ยวข้องในหลายรูปแบบ เทคโนโลยีได้ช่วยให้สังคมหลาย ๆ แห่งเกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจมากขึ้นซึ่งรวมทั้งเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ในหลาย ๆ ขั้นตอนของการผลิตโดยใช้เทคโนโลยีได้ก่อให้ผลผลิตที่ไม่ต้องการ หรือเรียกว่ามลภาวะ เกิดการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีหลาย ๆ อย่างที่ถูกนำมาใช้มีผลต่อค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคม เมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นก็มักจะถูกตั้งคำถามทางจริยธรรม
ความหมาย
เมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี ผู้คนส่วนใหญ่อาจนึกถึงเครื่องมือเครื่องจักรเชิงกลหรืออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย แต่ความเป็นจริงคือ เทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิตของมนุษย์มาเป็นเวลานานตั้งแต่ยุคประวัติศาสตร์ เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มนุษย์นำความรู้จากธรรมชาติวิทยามาคิดค้นและดัดแปลงธรรมชาติเพื่อแก้ปัญหาพื้นฐานในการดำรงชีวิต ในระยะแรกเทคโนโลยีที่นำมาใช้เป็นระดับพื้นฐานอาทิ การเพาะปลูก การชลประทาน การก่อสร้าง การทำเครื่องมือเครื่องใช้ การทำเครื่องปั้นดินเผา การทอผ้า เป็นต้น ปัจจัยการเพิ่มจำนวนของประชากร ข้อจำกัดด้านทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการพัฒนาความสัมพันธ์กับต่างประเทศ เป็นปัจจัยสำคัญในการนำและการพัฒนาเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้น
             เทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมาก เทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ถ่ายทอดมาจากประเทศตะวันตก ซึ่งศึกษาค้นคว้าทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ยุคปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (คริสต์ศตวรรษที่ 16-17) ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากการสังเกตปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ คือการพยายามที่อธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น เช่น นักฟิสิกส์ อธิบายว่า เมื่อขดลวดตัดสนามแม่เหล็กจะได้กระแสไฟฟ้า และน้ำเกิดจากไฮโดรเจนผสมกับออกซิเจน เป็นต้น ตั้งเป็นกฎเกณฑ์และทฤษฎีเพื่อถ่ายทอดและสอนให้ผู้อื่นได้ศึกษาและพัฒนา
          ส่วนในความหมายของเทคโนโลยีเป็นการประยุกต์ นำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวลมนุษย์ กล่าวคือ เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการประดิษฐ์สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนที่เป็นข้อแตกต่างอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี กับวิทยาศาสตร์ คือเทคโนโลยีจะขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจเป็นสินค้ามีการซื้อขาย ส่วนความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นสมบัติส่วนรวมของชาวโลก มีการเผยแพร่โดยไม่มีการซื้อขายแต่อย่างใดกล่าวโดยสรุปคือ เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขึ้นโดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาเป็นลำดับ เช่น การตราพระราชบัญญัติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าในปี พศ 2514 และจัดตั้งกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการพลังงานแห่งชาติขึ้นในปี พศ 2522 ให้ทำหน้าที่หลักในการเผยแพร่และพัฒนาผลงานทางวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุด ปัจจุบันเทคโนโลยีมีบทบาทต่อการพัฒนาอย่างมาก กล่าวโดยสรุปดังนี้
               เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิต ทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและ รักษาสภาพแวดล้อม เทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เทคโนโลยีวัสดุศาสตร์ เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุก่อสร้าง โลหะ
เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านการเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น เทคโนโลยีมีบทบาทในการพัฒนาอย่างมาก แต่ทั้งนี้การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาจะต้องศึกษาปัจจัยแวดล้อมหลายด้าน เช่น ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม ความเสมอภาคในโอกาสและการแข่งขันทางเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดความ ผสมกลมกลืนต่อการพัฒนาประเทศชาติและส่วนอื่นๆอีกมาก
          ในทางเศรษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอาทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ (รวมถึงความรู้ว่าเราสามารถผลิตอะไรได้บ้าง) ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จะเกิดขึ้นเมื่อความรู้ทางเทคนิคของเราเพิ่มขึ้น
ลักษณะของเทคโนโลยี
สามารถจำแนกออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ (Heinich , Molenda and Russell. 1993 : 449)

1. เทคโนโลยีในลักษณะของกระบวนการ ( process) เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือ

ความรู้ต่างๆที่ได้รวบรวมไว้ เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ โดยเชื่อว่าเป็นกระบวนการที่เชื่อถือได้และนำไปสู่การแก้ปัญหาต่าง ๆ

2. เทคโนโลยีในลักษณะของผลผลิต (product) หมายถึง วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี

3. เทคโนโลยีในลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต (process and product) เช่น ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรม 

เป้าหมายของเทคโนโลยี
1.             การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอน ที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น


1.1 คน คนเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ที่สำคัญซึ่งได้แก่ ครู และวิทยากรอื่น ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกรตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น

1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศนวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทป ของจริงของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมไปถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ

1.3 เทคนิค-วิธีการ แต่เดิมนั้นการเรียนการสอนส่วนมาก ใช้วิธีให้ครูเป็นคนบอกเนื้อหา แก่ผู้เรียนปัจจุบันนั้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองได้มากที่สุด ครูเป็นเพียง ผู้วางแผนแนะแนวทางเท่านั้น

1.4 สถานที่ อันได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเล หรือสถานที่ใด ๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้

2.การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล ถึงแม้นักเรียนจะล้นชั้น และกระจัดกระจาย ยากแก่การจัดการศึกษาตามความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ นักการศึกษาและนักจิตวิทยาได้พยายามคิด หาวิธีนำเอาระบบการเรียนแบบตัวต่อตัวมาใช้ แต่แทนที่จะใช้ครูสอนนักเรียนทีละคน เขาก็คิด แบบเรียนโปรแกรมซึ่งทำหน้าที่สอน ซึ่งเหมือนกับครูมาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเอง จากแบบเรียนด้วยตนเองในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3.  การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบ ในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ ที่เชื่อถือได้ว่าจะสามารถแก้ปัญหา หรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบ อย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่าง ๆ ของระบบทำงาน ประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา วัสดุและเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการศึกษา หรือการเรียนการสอนปัจจุบันจะต้องมีการพัฒนา ให้มีศักยภาพ หรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
เทคโนโลยี มีกี่ระดับอะไรบ้าง 
เทคโนโลยีมี 4 ระดับ ได้แก่

1. เทคโนโลยีระดับเบื้องต้น  สามารถจัดหาได้ภายในประเทศ หรือสามารถพัฒนาขึ้นได้ในระยะเวลาอันสั้น เช่น ตู้เย็น โทรศัพท์ เป็นต้น

2. เทคโนโลยีระดับกลาง  มักต้องซื้อจากต่างประเทศ แต่สามารถพัฒนาได้ภายในประเทศ หากมีแผนการพัฒนาที่ต่อเนื่อง เช่น โทรทัศน์  เครื่องเสียง เป็นต้น

3. เทคโนโลยีระดับสูง ต้องซื้ออุปกรณ์จากต่างประเทศ แต่สามารถใช้งานโดยคนไทย หากพัฒนาในประเทศจะต้องซื้อเทคโนโลยีแกนจากต่างประเทศ เช่น คอมพิวเตอร์  โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นต้น

4. เทคโนโลยีระดับสูงมาก ต้องซื้ออุปกรณ์ และทักษะการใช้งานจากต่างประเทศ  เช่น ระบบคมนาคมสื่อสารขนาดใหญ่
ประโยชน์และโทษของเทคโนโลยี

     สิปปนนท์ เกตุทัต (ม.ป.ป. : 80) กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อ การดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยใน ด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างไกลแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสมดุลทางธรรมชาติอย่างมหันต์ เมื่อมองไปข้างหน้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับ ปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ 

1. ตัวป้อน(Input) คือ ความต้องการของมนุษย์ (Need,Want)หรือปัญหาที่ต้องการหาคำตอบเช่นความต้องการที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มอาหารยารักษาโรค
2. กระบวนการ(Process) คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือตอบสนองต่อความต้องการ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเปลี่ระบบเทคโนโลยี(Technological System)  ประกอบด้วย ด้าน ได้แก่
ยนแปลง (Change) ทรัพยากรให้เป็นผลผลิต หรือผลลัพธ์ ขั้นตอนของกระบวนการจะประกอบด้วย กำหนดปัญหาหรือความต้องการ , รวบรวมข้อมูลเพิ่อแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ ,  เลือกวิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการ, ออกแบบและปฏิบัติการ, ทดสอบ  ,ปรับปรุงแก้ไข ,  ประเมินผล
3. ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output or Outcome) สิ่งที่ออกมาจากกระบวนการของระบบ ซึ่งสามารถตอบสนองต่อตัวป้อนในระบบเทคโนโลยี เช่น สิ่งของเครื่องใช้ วิธีการแก้ปัญหาหรือสนองความต้องการของมนุษย์
4.ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resources) เป็นปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินงานของระบบ ได้แก่คน(People),ข้อมูลและสารสนเทศ(DataandInformation),วัสดุ(Materials),เครื่องมือและอุปกรณ์(Machines and Tools),พลังงาน(Energy),ทุน(Capital)หรือทรัพย์สิน(Asset),เวลา(Time)
5.ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) เป็นข้อจำกัด  ข้อพิจารณาหรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงซึ่งจะทำให้ระบบทำงานได้มากน้อยต่างกัน เช่น สภาพอากาศ  ,วัฒนธรรมของสังคม ,ความเชื่อ, ความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคล เป็นต้น ตัวอย่างของสถานการณ์ที่มีปัจจัยขัดขวางทางเทคโนโลยี
ปัจจัยที่ทำให้เกิดเทคโนโลยี
1.ความจำเป็นในการดำรงชีวิต   มนุษย์จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยหลัก  ได้แก่  อาหาร  เครื่องนุ่งห่ม  ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค  รวมไปถึงปัจจัยอื่น ๆ     ที่จำเป็นที่เกี่ยวข้องชีวิตประจำวันอีกมากมาย
2.ความต้องการอยู่รอดให้พ้นจากภัยธรรมชาติ   เช่น  แผ่นดินไหว    น้ำท่วม    ทำให้มนุษย์ ต้องดิ้นรน  ป้องกัน  และหาวิธีการต่าง  ๆ    ทำให้เกิดเทคโนโลยีการตรวจจับและพยากรณ์แผ่นดินไหว
3.ความใฝ่รู้ของมนุษย์    ทำให้เกิดการคิดค้นเทคโนโลยีประเภทอุปกรณ์และเครื่องมือ
4.ต้องการความบันเทิงและการพักผ่อน ซึ่งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่ชอบกิจกรรมบันเทิง จึงทำให้เกิดเทคโนโลยีเพื่อสนองตอบความต้องการ
5.การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เป็นสิ่งที่ผลักดันให้มีการคิดค้นเทคโนโลยี
ตัวอย่าง
                "Dedicated to purpose beyond reason." ...เป็นคำโปรยบนแคมเปญที่ทำกำไรอย่างมหาศาล ให้กับบริษัทแว่นกันแดด ที่ประสบความสำเร็จ และมีคนทำเลียนแบบมากที่สุดในโลก..... 30 ปีที่ผ่านมา Jim Jannard และแบรน Oakley ของเขา ได้สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการ ด้วยการทำให้ผลิตภัณฑ์แว่นกันแดดและรองเท้าในปัจจุบันกลายเป็นงานศิลปะที่มีประสิทธิภาพการใช้งานสูง ยกตัวอย่างแว่นรุ่น Over the Top แว่นที่ให้คำจำกัดความของ mad scientists ที่ Oakley ได้รวบรวมนักดีไซน์ สร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ล้ำสมัยมากว่า 30 ปี 
                ถ้ามีโอกาสไปสำนักงานใหญ่ Oakley จะพบว่าเขาทำได้ไม่เหมือนใครจริงๆ ออฟฟิศทั้งหมดที่มีพื้นที่ 417,000 ตารางฟุต ตั้งอยู่ในเมือง Foothill Ranch รัฐ California ซึ่งออกแบบเหมือนฐานทัพลับของรัฐบาลสหรัฐอย่าง Area51 ที่เราเห็นในภาพยนตร์ เก้าอี้รับรองแขกทำจากที่นั่งของเครื่องบินรบ B-52..... มองไปอีกด้านก็มี จรวด Mark 84 torpedo วางอยู่ที่พื้น มองไปบนกำแพงก็มีรถ drag car ห้อยอยู่ ซึ่งนี่แค่ลอบบี้เท่านั้น  มาถึงคำถามว่า Jannard เข้ามาในธุกิจนี้ได้อย่างไร ก็ต้องย้อนไป 30 ปีก่อน ในวันที่มีเซลส์แมนนักประดิษฐ์คนหนึ่งที่มาพร้อมกับที่ยางหุ้มแฮนด์รถมอเตอร์ไซด์ และหมาของเขาที่ชื่อ Oakley ปี คศ.1975 นักขับรถมือสมัครเล่นและตัวแทนขายสินค้าชื่อ Jannard คนนี้ ได้นำเสนอวัตถุดิบชนิดหนึ่งที่เขาเรียกว่า Unobtanium วัตถุดิบที่ปัจจุบันยังคงนำมาใช้กับยางขาแว่นของ Oakley วัตถุชนิดนี้มีความนุ่ม เบา แต่มีความยึดเหนี่ยวสูง และจะยิ่งรู้สึกกระชับมากขึ้นหากเปียกน้ำ Jannard ได้พัฒนาวัตถุดิบนี้ให้เป็นยางจับแฮนด์รถ ซึ่งสร้างความแปลกใหม่ด้วยความรู้สึกที่แตกต่าง รวมไปถึงดีไซน์ที่แปลกตา เพราะมีแนวคิดมาจากปลาหมึก .....แต่Jannard ประสบปัญหากับการพัฒนาของเขามาก เพราะบริษัทที่เขาทำงานด้วย ไม่ต้องการสิ่งที่เขานำเสนอ เขาต้องฝืนขายยางหุ้มแฮนด์รถแบบเดิมๆ ที่เขารู้ทั้งรู้ว่ามันน่าจะดีกว่านี้ สุดท้ายเขาก็ตัดสินใจสร้างแบรน Oakley ในปี 1975 ด้วยทุน 300 ดอลลาร์สหรัฐ  Jannard เริ่มต้นด้วยความยากลำบาก เขาต้องเดินทางไปยังสนามแข่งรถในพื้นที่ เพื่อเสนอสินค้าของเขา และด้วยรูปร่างที่แปลกประหลาด ก็ทำให้คนสนใจได้ไม่ยาก จากนั้นไม่นานเขาก็เริ่มตั้งตัวได้ ด้วยใบสั่งสินค้าที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆแม้ว่าที่หุ้มแฮนด์รถมอร์เตอไซด์ที่ทำจาก Unobtanium จะได้รับการตอบรับจากตลาดเป็นอย่างดี แต่ก็ยังพบปัญหาบางประการ นั่นคือขนาดของที่หุ้มของแฮนด์รถสองข้างควรจะไม่เท่ากัน เนื่องจากการใช้งาน แต่ดีไซน์ที่แปลกเกินไปทำให้ที่หุ้มแฮนด์รถของ Jannard ไม่สามารถรองรับขนาดที่ต่างกันนั้นได้ปัญหานี้หมดไปเมื่อ Jannard ได้ผลิต Grip II ออกมาโดยยังคงใช้แนวทางเดิม แต่ทำให้เหมาะกับการใช้งานจริงมากขึ้น Jannard ประสบความสำเร็จในการนำตัวเองเข้าไปในตลาด amateur MX และต่อมาก็ได้ผลิตยางหุ้มแฮนด์ให้กับ BMX แบรนจักรยานที่มีชื่อเสียงที่สุดในขณะนั้น Oakley บริษัทที่ตั้งตามชื่อสุนัข สร้างผลกำไรควบคู่ไปพร้อมกับ BMX อย่างรวดเร็ว ในเวลานั้น Jannard เริ่มมีความคิดว่า น่าจะทำอะไรอย่างอื่นนอกเหนือจากอุปกรณ์หุ้มแฮนด์จักรยานและจักรยานยนต์ ไอเดียต่อมาของเขาคือการผลิต goggle หรือแว่นสำหรับนักกีฬา เพราะหลังจากที่ Oakley แก้ปัญหาที่หุ้มรถในรุ่นแรกไปได้ เขาก็พยายามทำให้แบรน Oakley เป็นที่ปรากฎมากขึ้นในสนามความเร็ว แต่นักแข่งกว่าครึ่งมองเห็นป้ายโฆษณา ก็ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันคืออะไร Jannard จึงกระโดดเข้าไปยังตลาดแว่น เพื่อแบรนของเขาจะได้เป็นที่รู้จักมากขึ้น การให้นักแข่งชื่อดังได้ใช้แว่น Oakley O Frame รุ่นใหม่ ก็จะทำให้ตราบริษัทของเขาปรากฎมากขึ้นจากการใช้งาน ในปี คศ. 1980 Jannard จึงเริ่มต้นผลิตแว่นสำหรับแข่งจักรยานยนต์อย่างจริงจัง หลังจากแว่นดังกล่าวเริ่มติดตลาดและประสบความสำเร็จ ด้วยความที่เป็นคนไอเดียกระฉูด เขาก็ยังมองหาลู่ทางใหม่ๆเสมอ ในเมื่อเขาเข้ามาในสายการผลิตแว่นตาสำหรับนักแข่ง ทำไมเขาไม่ลองผลิตแว่นที่ใช้สำหรับกิจกรรมอื่นๆ ดูบ้าง แว่นที่ปกป้องดวงตานักกีฬา มีดีไซน์ที่สวยงามมีความเป็นเอกลักษณ์ และยังมีประสิทธิภาพที่ช่วยให้นักกีฬามองเห็นได้อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งก็ทำให้เกิด Eyeshade แว่นเลนส์เดียว ที่ใส่ประสิทธิภาพของแว่นนักแข่งรถลงไปในรูปแบบของแว่นธรรมดา แน่นอนว่าช่วงแรก Eyeshade ถูกมองว่ามีรูปร่างที่แปลกประหลาด แต่ Oakley ก็เชื่อมั่นว่ามันเป็นธรรมชาติที่คนจะรู้สึกแปลกกับดีไซน์ในช่วงแรกๆ แต่มันก็จะดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เป็นเวลาไม่นานในการที่ตลาดจะปรับตัวให้เข้ากับดีไซน์ของแว่น Oakley ซึ่งก่อนหน้านั้นนักกีฬาต่างๆ ยังคงใช้ดีแว่นตามสายการผลิตเดิม ที่มีรูปทรงเดิมๆ และมีขายกันหลายสิบยี่ห้อ แต่พอ Oakley ได้เข้ามาบุกเบิกตลาด พวกเขาก็พบว่าแว่นที่เขาใช้นั้น มันสำหรับทศวรรษก่อนไปแล้ว






RAZRWire แว่นพร้อมระบบบลูทูธ คาดว่าจะออกปลายปีนี้
Jannard ตั้งหน้าตั้งตาผลิตแว่นรูปทรงดุเดือดต่อไป โดยพยายามนำเทคโนโลยีที่เขาคิดค้นผนวกเข้ากับไอเดียในการสร้างรูปทรงที่สะดุดตาออกมาเรื่อยๆ 
              ตัวอย่างเทคโนโลยีที่ว่า ก็คือวัสดุเคลือบเลนส์อย่างเช่นPlutonite และ Iridium ที่ทำให้นักกีฬามองเห็นได้ชัดเจนขึ้น Plutonite มีประมิทธิภาพกรองแสง UVA, UVB, UVC และ blue light ที่เป้นอันตรายต่อสายตาได้ 100% ที่สำคัญคือมีขนาดเบา ทนต่อแรงกระแทก ในขณะที่ Iridium จะช่วยลดความ contrast ของแสง เพื่อการกำหนดตำแหน่งของวัตถุได้แม่นยำขึ้น ซึ่งมีประโยชน์ไม่ใช่แค่นักกีฬา แต่มีประโยชน์ต่อคนที่ต้องอยู่กลางแจ้งบ่อยๆ อีกด้วย นอกจากนี้ Oakley ยังสร้างความหลากหลายด้วยของการทำสีของเลนส์ ที่รองจมูก กรอบแว่น ยางกรอบแว่น ออกมาให้มีหลายสีตามความชอบ ทำให้ลูกค้ารู้สึกพอใจในการดีไซน์และประกอบแว่นของตนเองได้ตามที่ตนต้องการ โดยคุณสามารถซื้อชิ้นส่วนต่างๆ ของแว่นของคุณและเปลี่ยนมันได้ด้วยตัวเอง

     หลังจากเริ่มมีชื่อเสียง ชื่อ Oakley ได้ถูกทำเลียนแบบขึ้นทั่วโลก ซึ่งเริ่มไม่เป็นผลดีทั้งต่อบริษัท และลูกค้าที่จะได้สินค้าที่ไม่มีได้มาตรฐานภายใต้ชื่อ Oakley บริษัทโอ๊คเลย์ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกก้อปปี้มากที่สุดในโลก โดยเรียกสินค้าปลอมเหล่านั้นว่า Foakleys (มาจาก fake Oakleys) โดยสามารถหาได้ไม่ยากในตลาดที่วางขายกระเป๋ากุชชี่ปลอม ทางบริษัทต้องจ้างทนายที่เก่งๆ มาตามจับบริษัทที่ผลิตของปลอมกันไม่หวั่นไม่ไหว..... ยังไงก็แล้วแต่ Jannard เริ่มคิดแล้วว่าเราควรจะออกจากตลาดเดิมของเรา ไปหาอะไรใหม่ซักที นั่นคือจุดเริ่มต้นของ Oakley ในตลาดรองเท้าในปี คศ.1998 มิถุนายนปี 1998, Oakley ได้เปิดตัว O Shoe โดยตั้งราคาไว้คู่ละ 125 เหรียญ ซึ่งก็แน่นอนว่ามีดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ และก็เหมือนเดิมที่ในช่วงแรกผู้คนจะเชื่อมั่นในเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย แต่ก็ยังกล้าๆกลัวๆ กับสไตล์การผลิตของบริษัทนี้ ยอดขายช่วงแรกไม่ดีนัก ผู้จำหน่ายรายย่อยบางคนเริ่มขาดความเชื่อมั่นในการเข้าสู่ตลาดรองเท้าของ Jannard แต่หลายคนก็ยังมั่นใจว่ารองเท้าของเขาจะตีตลาด Nike ได้โดยไม่ยาก  สิ่งที่ทำให้ยังคงมีความเชื่อมั่นคือการออกแบบรองเท้าของ Oakley ที่ต่างจากแบรนอื่น Oakley ใช้กระบวนการออกแบบในลักษณะ 3 มิติที่ใช้เทคโนโลยี CAD/CAM engineering และ liquid laser prototypes ทำให้รองเท้าทุกรุ่นออกมาเพื่อรองรับการเคลื่อนไหวทุกรูปแบบ ทั้งการใช้งานสมบุกสมบันในป่า ไปจนถึงการเดินไปมาในออฟฟิศ การพัฒนาของ Oakley ภายใต้การดำเนินงานของ Jannard ดูจะง่าย แค่เพียงเดินตามคำโปรยในแคมเปญของเขา "dedicated to purpose beyond reason." ดังนั้นคำถามต่อไปหลังจากความสำเร็จของ ยางหุ้มแฮนด์จักรยานจน, แว่นสำหรับนักแข่งจักรยานยนต์, แว่นตา และนาฬิกา ก็คือ "เขาจะทำอะไรต่อไป" แต่ไม่ว่าจะทำอะไรเราก็สามารถเดาได้เลยว่า สิ่งนั้นจะต้องสามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิ์ภาพ มีดีไซน์ล้ำยุค ดุเดือด และสิ่งนั้นจะต้องประสบความสำเร็จแน่นอน...
               
 สารสนเทศ
 สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่า สารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น สารสนเทศที่เป็น ความรู้ที่เกิดจากวิทยุ โทรศัพท์มือถือ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ รอบตัวเราซึ่งอาจมาจาก วิทยุ โทรทัศน์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ดาวเทียม โทรศัพท์ เครื่องจักร ที่เกี่ยวกับสารสนเทศได้ เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสมัยใหม่ เช่น การฝาก ถอนเงินผ่านเครื่อง ATM การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียน ฯลฯ
สารสนเทศ
สารสนเทศ (information)  เป็นผลลัพธ์ของการประมวลผล การจัดดำเนินการ และการเข้าประเภทข้อมูลโดยการรวมความรู้เข้าไปต่อผู้รับสารสนเทศนั้น สารสนเทศมีความหมายหรือแนวคิดที่กว้าง และหลากหลาย ตั้งแต่การใช้คำว่าสารสนเทศในชีวิตประจำวัน จนถึงความหมายเชิงเทคนิค ตามปกติในภาษาพูด แนวคิดของสารสนเทศใกล้เคียงกับความหมายของการสื่อสาร เงื่อนไข การควบคุม ข้อมูล รูปแบบ คำสั่งปฏิบัติการ ความรู้ ความหมาย สื่อความคิด การรับรู้ และการแทนความหมาย
ปัจจุบันผู้คนพูดเกี่ยวกับยุคสารสนเทศว่าเป็นยุคที่นำไปสู่ยุคแห่งองค์ความรู้หรือปัญญา นำไปสู่สังคมอุดมปัญญา หรือสังคมแห่งสารสนเทศ และ เทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าเมื่อพูดถึงสารสนเทศ เป็นคำที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สองสาขา คือ วิทยาการสารสนเทศ และ วิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งคำว่า "สารสนเทศ" ก็ถูกใช้บ่อยในความหมายที่หลากหลายและกว้างขวางออกไป และมีการนำไปใช้ในส่วนของ เทคโนโลยีสารสนเทศ และ การประมวลผลสารสนเทศ
         สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล
สารสนเทศในความหมายของข้อความ
สารสนเทศสามารถหมายถึงคุณภาพของข้อความจากผู้ส่งไปหาผู้รับ สารสนเทศจะประกอบไปด้วย ขนาดและเหตุการณ์ของสารสนเทศนั้น สารสนเทศสามารถแทนข้อมูลที่มีความถูกต้องและความแม่นยำหรือไม่มีก็ได้ ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อเท็จจริงหรือข้อโกหกหรือเป็นเพียงเหตุการณ์หนึ่งที่เกิดขึ้น สารสนเทศจะเกิดขึ้นเมื่อมีผู้ส่งข้อความและผู้รับข้อความอย่างน้อยฝ่ายละหนึ่งคนซึ่งทำให้เกิดการสื่อสารของข้อความและเข้าใจในข้อความเกิดขึ้น ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับ ความหมาย ความรู้ คำสั่ง การสื่อสาร การแสดงออก และการกระตุ้นภายใน การส่งข้อความที่มีลักษณะเป็นสารสนเทศ ในขณะเดียวกันการบกวนการสื่อสารสารสนเทศก็ถือเป็นสารสนเทศเช่นเดียวกัน
          ถึงแม้ว่าคำว่า "สารสนเทศ" และ "ข้อมูล" มีการใช้สลับกันอยู่บ้าง แต่สองคำนี้มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดคือ ข้อมูลเป็นกลุ่มของข้อความที่ไม่ได้จัดการรูปแบบ และไม่สามารถนำมาใช้งานได้จนกว่าจะมีการจัดระเบียบและดึงออกมาใช้ในรูปแบบสารสนเทศ การแสดงผลลัพธ์ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดิทัศน์ เป็นต้น และสามารถเก็บรักษาได้ยาวนาน
ระบบสารสนเทศ (Information System ) 
          หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมุลนั้นกลายเป็นสารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็วและถูกต้อง 
ระบบสารสนเทศประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ 
                      1. Hardware หมายถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการจัดกระทำกับข้อมูล ทั้งที่เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคิดเลข 
                       2. Software หมายถึง ชุดคำสั่ง หรือเรียกให้เข้าง่ายว่า โปรแกรม ที่สามารถสั่งการให้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะที่ต้องการภายใต้ขอบเขตความสามารถที่เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมนั้น ๆ สามารถทำได้ ซอร์ฟแวร์แบ่งออกเป็น ซอร์ฟแวร์ระบบ และ ซอร์ฟแวร์ประยุกต์ 
                      3 User หมายถึง กลุ่มผุ้คนที่ทำงานหรือเกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ 
                      4. Data  หมายถึง ข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่อาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ตัวหนังสือ แสง สี เสียง สัญญาณอิเล็กทรอนิกส์  ภาพ วัตถุ หรือ หลาย ๆ อย่างผสมผสานกัน ซึ่งข้อมูลที่ดีจะต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้ 
                       5. Procedure หมายถึง  ขั้นตอน กระบวนการต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในระบบสารสนเทศเมื่อทั้่ง 5 ส่วนดังกล่าวข้างต้น ทำงานประสานกัน ส่งผลให้ข้อมูลเกิดการประมวลผลและนำไปใช้ประโยชน์ นั่นก็คือ สารสนเทศนั่นเอง  ซึ่งสารเสนทศนี้จะเป็นสารสนเทศที่ดี จะต้องเป็นสารสนเทศที่มีความถูกต้องตรงกับความต้องการของผู้ใช้และทันเวลาในการใช้งานกล่าวโดยสรุปก็คือ กระบวนการสารสนเทศเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดสารเสนเทศขึ้นมานั่นเอง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน นั่นคือHardware Software User  Procedure และ Data 

ตัวอย่าง
                องค์กรที่สนใจการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร สามารถเข้าไปใช้เว็บไซต์ www.happy-workplace.com โดยสามารถเข้าไปสืบค้นฐานข้อมูลตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร 8 ด้าน (Happy 8) ตัวอย่างสื่อที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร ตามคู่มือที่จัดเตรียมไว้ให้ และสามารถอ่านหรือดาวน์โหลดเอกสารบทความที่เกี่ยวข้องคณะทำงานจัดเตรียมไว้ และยังสามารถค้นหาข้อมูลองค์ความรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตาม link ของเว็บไซต์ ตลอดจนสามารถสื่อสาร ขอคำปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลการทำงานกับคณะทำงาน สมาชิกองค์กรอื่นๆ ที่เข้าใช้เว็บไซด์ได้ทาง face book หรือ webboard ของเว็บไซด์




                 2) การใช้ประโยชน์เพื่อการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนข้อมูลการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาวะองค์กร

                 นอกจากการเข้าใช้เว็บไซต์ ฐานข้อมูลและสารสนเทศดังกล่าวข้างต้นแล้ว องค์กรที่มีการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาวะองค์กรอยู่แล้ว สามารถที่จะแบ่งปันข้อมูลการดำเนินงานขององค์กรตนเองเพื่อเป็นตัวอย่างการดำเนินกิจกรรมแก่องค์กรอื่นที่สนใจ อันจะเป็นประโยชน์อย่างกว้างขวางในการขยายผลการดำเนินงาน โดยองค์กรที่สนใจจะแบ่งปันความรู้ ข้อมูลกิจกรรมขององค์กรตนเองสามารถที่จะเข้าไปดาวน์โหลดแบบฟอร์มกิจกรรม และทำการกรอกข้อมูลในเว็บไซด์เพื่อเผยแพร่แบ่งปันความรู้แก่ผู้อื่นที่เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์โดยในเบื้องต้น ทางคณะทำงานได้ออกแบบเครื่องมือที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมในลักษณะของแบบฟอร์มสำหรับบันทึกกิจกรรมสร้างสุขภาวะในองค์กร จำนวน 3 ชุด ซึ่งในระยะต่อไป จะได้มีการขยายขอบข่ายของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลายยิ่งขึ้นต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น